Skip to content
Home » วันที่ 1 มกราคมของทุกปีคือวันขึ้นปีใหม่

วันที่ 1 มกราคมของทุกปีคือวันขึ้นปีใหม่

  • by
Spread the love

วันที่ 1 มกราคมของทุกปีคือวันขึ้นปีใหม่

 

  ในมงคลดิถีขึ้นปีใหม่          ขอชาวไทยทั่วประเทศเขตขัณฑ์

เจริญด้วยจตุพรบวรครัน        ทุกสิ่งสรรพ์ที่ชอบระธรรม

จงสัมฤทธิ์สมหวังดังมนัส        พร้อมสมบัติสิทธิโชคโฉลกล้ำ

เกียรติยศเลอเลิศเกิดประจำ     ทุกเช้าค่ำพูนสัวสดิ์พิพิฒน์เอย

 

คือระยะเวลาที่โลกเดินรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว ปี๓๖๕ วัน หรือ๑๒ เดือนตามสุริยคติ  เราได้กำหนดแยกปีออกเป็นลักษณะ

ต่างๆเพื่อให้เหมาะกับประโยชน์แต่ละด้าน เช่นปีการศึกษา

 

(๑เมษายน-๓๑ มีนาคมของปีถัดไป) ปีงบประมาณ(๑ตุลาคม-๓๐ กันยายนของปีถัดไป)ปีภาษี(ถือตามปีปฎิทิน)

    ปีฎิทิน เดิมไทยถือวันที่ ๑ เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาในพ.ศ ๒๔๘๓ รัฐบาลกำหนดให้

ขึ้นปีใหม่ในวันที่ ๑ มกราคม  เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๘๔ดั้งนั้น ปี พ.ศ.๒๔๘๓  จึงมีเพียง ๙เดือน

  ปีใหม่นับเป็นเรื่องของวันเดือนหมุนเวียนมาบรรจบครบรอบ ๓๖๕ วัน (๑๒ เดือน)

ซึ่งสมมติกันว่าปีหนึ่งหมดไป ขึ้นวันเดือนใหม่ของอีกปีหนึ่ง

 

เรียกว่าปีใหม่ มีการเปลี่ยนนักบษัตร (ชวด ฉลู ขาล เถาะ ฯลฯ ประจำปีใหม่ พร้อมทั้งเปลี่ยนพุทธศักราช (พ.ศ.) ใหม่ด้วย

การนับปีนั้นโบราณถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักเรียกว่า จันทรคติ ๑๒ เดือน คำนวณได้เพียง  ๓๖๕ วัน ต่อมา จึงมีวิธีนับตาม

ระยะเวลา

 

ที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ รอบละประมาณ ๓๖๕ วัน เรียกว่า สุริยคติ ทั้งสองระบบนี้ต่างเวลากันถึง ๑๑ วัน ทำให้ฝ่ายจันทรคติรู้สึก

ว่าเดือนก้าวล่วง

 

ไปเร็วกว่าฤดู ทำให้เพิ่มเดือนอยู่เสมอ เรียกว่า อธิมาส จะดูายละเอียดจากปฎิทินโบารณของอินเดีย อียีปต์ โรมัน รวมทั้งของสันตปา

ปา  ต่างมีการ

แก้ไขปรับปรุงกันต่อมาอีกหลายร้อยปี

การกำหนดวันเดือนปีของไทยนั้นได้มีการประกาศเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ ความว่า เดิมไทยนับปีทางจันทรคติ โดยอาศัยตำราสุริยาตรเป็นค้า ซึ่ง

อาศัยดาวฤกษ์เป็นหลักไม่ใช่อาศัยโลกเป็นหลักอย่างสามัญ สงกรานต์ จึงปรากฎว่า ๖๐ ปี คติทั้งสองจะผิดกัน ๑วัน การคิดคำนวณอธิมาสก็ไมค่อย

จะตรงกันจึงเกิดความยุ่งยาก พระบาทสมเด็จรพะจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระดำริว่า วิธีนับ วัน เดือน ปี ที่ดีควรประกอบด้วยเหตุ ๓ประการ คือ

ถูกต้องใกล้ชิดกับฤดูกาล มีประมาณเสมอกัน และให้คนทั้งปวงรู้ได้ง่าย ทรงเห็นว่าการนับ  วัน เดือน ปี แบบเก่าขัดข้องอยู่มาก ควรนับตามสุริยกาล

(แบบยุโรป)  จะดีกว่า(ดูรายละเอียดและเหตุผลในรพะราชบัญญัติ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๔๓๑) มีความตอนหนึ่งว่า

“ให้นับใช้วิธีนี้ในราชการและการสาวบัญชีทั้งปวง ตั้วแต่วันที่ ๒ เดือน ๒ ขึ้น ๑ค่ำ ปีฉลู ยังเป็นสัมฤทธิศก  จุลศักราช ๑๒๕๐ นั้น เป็นวันที่ ๑

เมษายน รัตนโกสินทรศก ๑๐๘  ต่อไป แต่วิธีนับ เดือน ปีตามจันทรคติ ซึ่งเคยใช้มาในกำหนดรพะราชพิธีประจำเดือนต่างๆ ก็ดี และใช้สังเกตเป็น

วันพระหยุดทำการก็ดีให้คงใช้ตามเดิม”

เป็นอันว่าไทยประกาศใช้ปฎิทินแบบใหม่ตามสุริยคติกาล ทางราชการเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๓๒ ส่วนทางศาสนาได้เปลี่ยนตามเมื่อวันที่ ๑

เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๔ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๔๘๓ ทางราชได้ประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบอารย-ประเทศ

เหตุผลในการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ของไทยจากวันที่ ๑ เมษายน มาเป็นวันที่ ๑มกราคม มีรายละเอียดอยู่ในบันทึกเหตุผลการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่

ของคณะกรรมการ ซึ่งได้ประชุมกัน ณ ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ขอคัดมาเป็นบางส่วน  ดังนี้

ตามหลักดาราศาสตร์มีความเหมาะสมว่าด้วยดวงอาทิตย์ห่างจากโลกมากที่สุดในช่วงปลายเดือนธันวาคม (๒๑-๒๒-๒๓) เราเคยใช้

 

เป็นระยะขึ้นปีใหม่มาก่อน (แต่ดังเดิม) ตรงกับเดือนทางจันทรคติเป็นเดือนอ้าย ซึ่งอยู่ในฤดูหนาว ต่อมาเราใช้ตามความนิยมของพราหมณ์ ถือเอา

ระยะดวงอาทิตย์ใก้ลโลกที่สุดเป็นช่วงปีใหม่ คือราวเดือน ๕ หรือ เมษายน อันเป็นเวลาที่อากาศร้อนมาก

ไทยแต่โบราณ ถือวันแรม ๒ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งใก้ลเคียงกับวันที่ ๒๒  ธันวาคม  ถึง มกราคม   เพราะเหตุที่ถือวันแรม ๑ค่ำ

เดือนอ้ายเป็นวันขึ้นปีใหม่นี่เอง การตั้งต้นนับเดือนของไทยจึงนับเดือนอ้ายเดือนอ้าย(เดือน ๑) เดือนยี่ (เดือน ๒) ไปโดยลำดับ พระบาทสมเด็จจอมเกล้าเจ้า

อยู่หัวทรงอธิบายว่า ฟดูหนาวเป็นเวลาพ้นจากมืดฝนสว่างขึ้นเหมือนเวลาเช้า โบราณจึงเชื่อเป็นต้นปี  ฤดูร้อนเป็นเวลาสว่างร้อนเหมือนกลางวัน

โบราณจึงถือเป็นกลางปี  ส่วนดูฝนเป็นเวลามืดครื้มเหมือนกลางคืนจึงถือเป็นปลายปี  และถือเดิอนอ้ายข้างแรมเป็นเดือนต้นของต้นปี

การใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ทำให้พุทธศักราชร่นเร็วเข้ามาอีก ๔ เดือนจะไม่เป็นการผิดอะไรเลยในทางพุทธศาสนา เพราะศักราชทาง

ลังกานับพุทธศักราชเร็วกว่าของเราอยู่แล้ว (๑ปี) นอกจากนี้ยังเป็นการเลอกเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา ถูกต้องตามหลักวิชาที่นิยมใช้

แต่โบราณ  โดยถือเอาลักษณะของดินฟ้าอากาศที่สุดเหมือนเวลารุ่งอรุณแห่งชีวิต

การให้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่จะทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใบ้กันอยู่ในประเทศที่เจริญแล้ว ยังเป็นการฟื้นฟูวัฒธรรมคตินิยม  จารีต

ประเพณีของเราแต่โบราณ(ซึ่งถูกบดบังค้วยอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์) กลับมาใช้ใหม่เป็รเกียรติแก่ประเทศทั้งในส่วนของชาติเราเอง  และในทาง

สัมพันธ์กับชาติที่เจริญแล้วทั้งหลาย เป็นวิธีของเาเองหาใช้วิธีทางศาสนา นับเป็นการแสดงให้เห็นความรุ่งโรจน์แห่งวัฒนธรรมของชาติไทยในอดีตด้วย

 

กิจกรรมทางวัฒนธรรม

          ๑.การจัดประชุมสัมมนาและเสวนาให้ความรู้  ความเข้าใจถึงความเป็นมา  คุณค่า ความสำคัญของวันขึ้นปีใหม่

         ๒.รณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เรื่องปีใหม่ให้กว้างขวางออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น ทำความสะอาดสถานที่  บ้านเรือน

        ที่ทำงาน  เครื่องนุ่งห่มทำบุญให้ทาน ปล่อยนกปล่อยปลา  เยี่ยมเยือนบิดามารดา  ญาติผู้ใหญ่ขอรับพรมอบของขัวญให้แก่กัน

อวยพรให้มีความสุข  ความเจริญในวันขึ้นปีใหม่ส่งหรือมอบบัตรอวยพรให้แก่กันและกัน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม